>>หัตถกรรมไทย<<


เครื่องมุก
03/10/2009, 08:04
Filed under: เครื่องมุก

เครื่องมุกเป็นศิลปหัตถกรรมประเภทหนึ่งที่เกิดขึ้นจากการใช้เปลือกหอยมุก ซึ่งเป็นหอยทะเลชนิด

หนึ่งมาฉลุเป็นชิ้นเล็ก ๆ ประดับลงบนภาชนะ บานประตู หน้าต่าง ฯลฯ โดยมีรักเป็นตัวเชื่อมให้มุกฝังตัว

อยู่บนผิวภาชนะหรือวัตถุที่ต้องการประดับ ความแวววาวของเปลือกหอยมุกสีขาวแกมชมพู จะตัดกับสีดำ

ของรักเกิดเป็นลาดลายที่งดงามคนไทย จึ่งนิยมประดับมุกลงบนภาชนะเครื่องใช้และสิ่งต่าง ๆ เช่น ตั่ง

ตะลุ่ม พาน ปราสาทราชวัง เป็นต้น

       เครื่องมุกและการประดับมุกเป็นงานศิลปหัตถกรรมที่ต้องใช้ความละเอียดประณีตต้องใช้ช่างที่มี

ความสามารถสูง ในอดีตจึงมักทำเป็นเครื่องใช้ของคนชั้นสูง พระภิกษุสงฆ์ และทำสิ่งที่เกี่ยวเนื่องกับสถา

บันกษัตริย์ และศาสนาเป็นส่วนใหญ่

เครื่องมุกและการประดับมุกเป็นงานศิลปหัตถกรรมที่ต้องใช้ความละเอียดประณีตต้องใช้ช่างที่มี

ความสามารถสูง ในอดีตจึงมักทำเป็นเครื่องใช้ของคนชั้นสูง พระภิกษุสงฆ์ และทำสิ่งที่เกี่ยวเนื่องกับสถา

บันกษัตริย์ และศาสนาเป็นส่วนใหญ่

       แม้ว่างานศิลปหัตถกรรมประเภทเครื่องมุกของไทยจะเป็นงานศิลปหัตถกรรมเก่าแก่ที่มีคุณค่าแต่

เมื่อสภาพเศรษฐกิจและสังคมเปลี่ยนไปการนำเปลือกหอยมุกมาประดับเครื่องมุกที่ต้องใช้เวลาและความ

ประณีตสูงจึงมิใคร่คุ้มค้า  การประดับมุกในปัจจุบันจึงมักทำสิ่งของที่ดีขนาดเล็ก ๆ จนถึงไฟแช็ค มากว่า

ที่จะทำเป็นสิ่งของที่มีขนาดใหญ่อย่างโบราณ

       กรรมวิธีการประดับมุกของไทย เป็นกรรมวิธีที่ทำกันมาแต่โบราณถ้าพิจารณาดูขั้นตอนและวิธีการ

จะเห็นว่าเป็นไปอย่างธรรมดาไม่ได้มีวิธีการที่ซับซ้อนแต่อย่างใด วัสดุที่นำมาใช้ก็เป็นวัสดุตามธรรมชาติ

ธรรมดา หากแต่ความงดงามนั้นขึ้นอยู่กับความประณีตของฝีมือช่าง และลวดลายที่เกิดจากความคิดของ

ช่างไทย ที่มุ่งเนรมิตความงามขึ้นให้สอดคล้องกับวัสดุและรูปแบบของสิ่งที่สร้างขึ้นมาเพื่อประโยชน์ใช้

สอยในด้านต่าง ๆ ให้มีความงดงามมีสุนทรียภาพแฝงอยู่ในสิ่งต่าง ๆ เหล่านั้น เท่ากับเป็นการเพิ่มคุณค่า

และความน่าใช้ไปด้วย

        การประดับมุกในปัจจุบันแม้จะมีทำกันอยู่บ้างเช่นที่บริเวณอำเภอเมือง จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ก็

เป็นเครื่องมุกที่ประยุกต์วิธีการจากโบราณ ตั้งแต่การใช้สีโป๊วหรือสีรองพื้นแทนรักและการฉลุลวดลายก็

เป็นการทำแบบซ้ำ ๆ แล้วนำมาประกอบเป็นลวดลายที่สามารถช้กับเครื่องมุกที่มีรูปทรงต่างๆ กัน ทั่วไป

ซึ่งเป็นการปรหยัดเวลาและแรงงาน

ที่มา : 

http://www.geocities.com/nielloware/read-niello/nakhonniello/nacred.html